MIC: สำมะโนอุตสาหกรรมการผลิต (2540-2555)

สํานักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทําสํามะโนอุตสาหกรรมขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2507 และครั้งที่ 2 ในปี 2540 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนและลักษณะที่สําคัญของสถานประกอบการอุตสาหกรรม ที่มีคนทํางานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปทั่วประเทศ เพื่อใช้ประกอบในการกําหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาการลงทุน และปรับปรุงกิจการอุตสาหกรรมการผลิตทั้งในภาครัฐและเอกชน และเพื่อให้สอดคล้องกับข้อเสนอแนะขององค์การสหประชาชาติ ที่ให้จัดทํา สํามะโนทุก 10 ปี สํานักงานสถิติแห่งชาติ จึงกําหนดให้มีการจัดทําสํามะโนอุตสาหกรรม พ.ศ. 2550 ขึ้น ซึ่งเป็นการจัดทําสํามะโนอุตสาหกรรม ครั้งที่ 3 ของประเทศไทย โดยกําหนดแผนดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการทุกประเภท และขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียด ซึ่งจะดําเนินการเฉพาะการประกอบอุตสาหกรรมการผลิต
วัตถุประสงค์
   1. เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่แสดงให้เห็นโครงสร้าง และการกระจายตัวของสถานประกอบการประเภทต่าง ๆ เช่น สถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต การค้าและการบริการ การก่อสร้าง การขนส่งทางบกและตัวแทนธุรกิจการท่องเที่ยว โรงพยาบาล เป็นต้น
   2. เพื่อเก็บรวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมการผลิต ได้แก่ ประเภทอุตสาหกรรม คนทำงาน และค่าตอบแทนแรงงานค่าใช้จ่ายในการผลิตและดำเนินงาน มูลค่าผลผลิตและรายรับ ส่วนเปลี่ยนแปลงของวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือ ตลอดจนมูลค่าของสินทรัพย์ถาวรและค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ถาวร เพื่อนำมาประมวลผลเป็นข้อมูลสถิติเป็นรายสาขาอุตสาหกรรม เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีประชาชาติและการสร้างตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต ของประเทศ และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายการพัฒนาและส่งเสริมการลงทุนในภาค อุตสาหกรรมการผลิตของประเทศ ตลอดจนการพัฒนาการลงทุนในการดำเนินกิจการของภาคเอกชน
   3. เพื่อจัดทำกรอบตัวอย่าง สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสถานประกอบการของหน่วยสถิติต่าง ๆ
ขอบข่ายและคุ้มรวมของการสํารวจ
งานเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน : งานนับจด ขอบข่าย : กิจกรรมทางเศรษฐกิจตามการจัดประเภทอุตสาหกรรมตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกประเภทตามมาตรฐานสากล(International Standard Industrial Classification of All Economic Activities : ISIC Rev.3.0) ดังนี้
   – ธุรกิจทางการค้าและการบริการ
   – การผลิต
   – การก่อสร้าง
   – การขนส่งทางบก และตัวแทนธุรกิจการท่องเที่ยว
   – กิจกรรมด้านโรงพยาบาล
คุ้มรวม : สถานประกอบการทุกประเภทตามขอบข่ายที่มีคนทำงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ทั่วประเทศ
งานเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียด : งานแจงนับ ขอบข่าย : สถานประกอบการที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการผลิต (ประเภท D ตามการจัดประเภทอุตสาหกรรมตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกประเภทตามมาตรฐานสากล International Standard Industrial Classification of All Economic Activities : ISIC Rev.3.0)
ระเบียบวิธีและการดำเนินงานสำรวจ
แผนการสุ่มตัวอย่าง
โดยวิธีส่งเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ออกไปทำการนับจดจำนวนสถานประกอบการ และสัมภาษณ์รายละเอียดเกี่ยวกับการประกอบกิจการ โดยกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
   1. ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานทำการนับจดจำนวนสถานประกอบการผลิต ธุรกิจการค้าและการบริการก่อสร้าง การขนส่งทางบก และตัวแทนธุรกิจการท่องเที่ยว โรงพยาบาล เป็นต้น เพื่อทราบจำนวน ประเภท และขนาดของกิจการ โดยใช้ข้าราชการและลูกจ้างของ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประมาณ 904 คน เป็นผู้ปฏิบัติงานนับจดจำนวนสถานประกอบการ และข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสถานที่ตั้ง ประเภท และขนาดของกิจการ ฯลฯ
   2. ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดกำหนดจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดการประกอบกิจการการผลิตโดยใช้ข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประมาณ 780 คน ออกไปสัมภาษณ์เจ้าของหรือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตทั่วประเทศ

Questionnaire