CYS: การสำรวจเด็กและเยาวชน (2535-2542)
CYS: การสำรวจเด็กและเยาวชน
สืบเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในจํานวน 191 ประเทศที่ได้ร่วมลงนามในปฏิญญาโลกว่าด้วยความอยู่รอดการปกป้องและการพัฒนา เด็ก พ.ศ. 2533 และลงนามร่วมกัน 189 ประเทศในแผนปฏิบัติการโลกที่เหมาะสมสําหรับเด็ก พ.ศ. 2545 ในข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าวรัฐบาลของแต่ละประเทศรวมทั้งประเทศไทยมีข้อ ผูกพันที่จะต้องปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของเด็กให้เหมาะสม และจะต้องติดตามความก้าวหน้าและผลการดําเนินงานของแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้า ประสงค์ที่ร่วมกันตั้งไว้ตามปฏิญญาดังกล่าว ดังนั้นสํานักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดทําโครงการสํารวจสถานการณ์เด็กในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 ขึ้นโดยได้รับเงินสนับสนุนจากองค์การยูนิเซฟประเทศไทย เพื่อให้หน่วยงานในกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวด ล้อมให้กับเด็กรวมทั้งหน่วยงานระหว่างประเทศอื่นๆในองค์การสหประชาชาติมีฐาน ข้อมูลเกี่ยวกับเด็กที่เป็นมาตรฐานสากลสามารถนําไปเปรียบเทียบกับนานาชาติ ได้ และเพื่อนําข้อมูลไปใช้ติดตามความก้าวหน้าของนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ระดับ ชาติด้านการพัฒนาเด็กตามแนวทางโลกที่เหมาะสม สําหรับเด็ก (พ.ศ.2543–2559)ดังนั้นเพื่อให้มีข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์เด็กอย่างต่อเนื่องสํานักงาน สถิติแห่งชาติจึงได้จัดเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กอีกครั้งหนึ่งในโครง การสํารวจเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นโครงการประจําของสํานักงานสถิติแห่งชาติ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้มีข้อมูลเกี่ยวกับสถานการเด็กทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัด เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนําไปใช้ในการกําหนดนโยบาย แผนปฏิบัติงานและมาตรการต่างๆ เกี่ยวกับเด็กได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งเพื่อให้ได้ข้อมูลสําหรับติดตามความก้าวหน้าตามเป้าหมายการพัฒนาแห่ง สหัสวรรษ (MDGs) และเป้าหมายที่เหมาะสม สําหรับเด็ก (WFFC) และเป้าหมายอื่นๆ ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ
ขอบข่ายและคุ้มรวมของการสํารวจ
การสํารวจนี้คุ้มรวมครัวเรือนส่วนบุคคลที่มีเด็กและเยาวชนทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ไม่รวมครัวเรือนพิเศษ ครัวเรือนสถาบัน และครัวเรือนชาวต้างประเทศที่ทํางานในสถานทูตหรือองค์การระหว่างประเทศที่มีเอกสิทธิ์ทางการทูต
ระเบียบวิธีและการดำเนินงานสำรวจ
ใช้วิธีการสํารวจด้วยตัวอย่าง (Sample Survey Method) โดยใช้แผนการสุ่มตัวอยางแบบ Stratified One-Stage Sampling โดยมีกรุงเทพมหานครและจังหวัดเป็นสตราตัม(Stratum) และมีชุมรุมอาคาร(ในเขตเทศบาล) และหมู่บ้าน(นอกเขตเทศบาล)เป็นหน่วยตัวอย่าง การเก็บรวบรวมขอมูลโดยใหเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่ง ชาติ ไปทําการสัมภาษณ์สมาชิกของครัวเรือนส่วนบุคคลที่มีเด็ก และเยาวชนทุกครัวเรือนที่อยู่ในชุมรมอาคาร/หมู่บ้านตัวอย่าง และจําแนกครัวเรือนส่วนบุคคลตัวอย่างทั้งสิ้นที่ต้องทำการแจงนับจําแนกตามภาค และเขตการปกครอง