




14 พฤษภาคม 2566
กสศ. เปิด 5 ประเด็นการศึกษาจากนักวิชาการ ที่พรรคการเมืองไม่ได้เสนอ แต่รัฐบาลใหม่ควรทำ
การพัฒนาและเตรียมระบบการศึกษาให้ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนทุกกลุ่ม สามารถแก้ปัญหาการศึกษาด้านต่างๆ อย่างยั่งยืน สร้างรากฐานที่แข็งแกร่ง สร้างหลักประกันอนาคตของประเทศได้ ยังคงเป็นงานที่ท้าทายความสามารถซึ่งกำลังรอให้รัฐบาลใหม่เข้ามาดูแล
ในสนามหาเสียงโค้งสุดท้ายพบความโดดเด่นทางนโยบายที่เกือบทุกพรรคให้ความสำคัญไปที่สวัสดิการสนับสนุนโอกาสเข้าถึงการศึกษา ทว่าความชัดเจนเรื่องความเสมอภาคยังมีอะไรบ้างที่ควรเสนอในวาระที่ประเทศไทยจะมีรัฐบาลชุดใหม่
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ชวนเครือข่ายนักวิชาการเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาร่วมจับกระแสข้อเสนอนโยบายด้านการศึกษา เพื่อรับมือกับปัญหาในอนาคตเหล่านี้
30 พฤศจิกายน 2565
“Learning Loss คือไข้ แต่ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาคือโรค เราลดไข้ได้ แต่ไม่เคยฆ่าเชื้อโรค”
คุยกับ ‘วีระชาติ กิเลนทอง’ ในวันที่การเรียนรู้ของเด็กไทยกำลังถดถอยสวนทางกับความเหลื่อมล้ำที่กำลังขยายใหญ่ขึ้น ทางออกของเรื่องนี้ควรเป็นเช่นไร พ่อแม่และครูจะมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูทักษะของลูกหลานได้อย่างไรบ้าง เพื่อรักษาระบบการศึกษาไม่ให้เชื้อโรคที่ชื่อว่าความเหลื่อมล้ำแผ่ความรุนแรงไปมากกว่านี้
21 พฤศจิกายน 2565
วีระชาติ กิเลนทอง : “ต่อให้ไม่มีผม ทุกคนคงรู้สึกได้ว่าเด็กกำลังเจอภาวะ Learning Loss บทบาทของผมคือทำให้มั่นใจว่าสิ่งที่ทุกคนคิดมันถูกต้อง แต่มันฟื้นฟูได้”
เขียนหนังสือไม่ได้เพราะกล้ามเนื้อมัดเล็กไม่ถูกพัฒนา กลับมาเรียนหนังสือแบบครึ่งๆ กลางๆ เพราะทักษะเชิงวิชาการหายไป นี่คือสถานการณ์จริงที่เด็กปฐมวัยกำลังเผชิญหลังโรงเรียนกลับมาเปิดเต็มรูปแบบ จากสถานการณ์ล็อกดาวน์ในช่วงโรคระบาดที่ผ่านมาช่วงเวลาการเรียนรู้ที่หยุดชะงัก ทำให้เด็กอนุบาลที่กำลังก้าวขึ้นสู่ชั้นประถมต้นมีภาวะถดถอย Mutual คุยกับ รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) และคณบดีคณะการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถึงเรื่องความพร้อมในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย ในประเด็นการเรียนรู้ถดถอยที่เด็กปฐมวัยต้องเผชิญ รวมถึงทางออกสู่การฟื้นฟูทักษะที่หล่นหายไปหลังสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย
26 ตุลาคม 2565
"Learning loss ความรู้ถดถอย"
“น้องเมฆ - เมธาสิทธิ์” เด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 ในจังหวัดมหาสารคาม อาศัยอยู่กับยายที่เรียนจบเพียงชั้น ป.6 ยายมีอาชีพทำนาและรับจ้าง กว่า 2 ปี ที่โควิด-19 แพร่ระบาด ทำให้โรงเรียนต้องปิดเรียนกว่า 1 เทอม และได้สร้างปัญหาเรื่องการเรียนรู้ที่ไม่เป็นไปตามพัฒนาการ เกิดการเรียนรู้ถดถอย เพราะครอบครัวของ “น้องเมฆ” ยากจน เข้าไม่ถึงสื่อออนไลน์ ผู้ปกครองก็ไม่มีเวลาสอนหนังสือตามใบงานที่โรงเรียนให้มา
27 สิงหาคม 2565
"ภาวะการเรียนรู้ถดถอย" ภัยเงียบที่กำลังกัดเซาะสังคม
นโยบายปิดโรงเรียนช่วงโควิด-19 ส่งผลให้เกิด “ภาวะการเรียนรู้ถดถอย” ซึ่งกระทบกับการเรียนรู้และการฝึกทักษะต่าง ๆ ของเด็กเล็กอย่างรุนแรง หากไม่เร่งแก้ไข ก็จะเกิดเป็นปัญหาใหญ่ที่กระทบสังคมเป็นวงกว้างอย่างแน่นอน
This paper investigates the socioeconomic determinants of parenting style in the context of a developing country using early childhood panel data from rural Thailand. Our key findings are that more patient caregivers tend to be more authoritative than authoritarian, caregivers are more likely to be authoritative than authoritarian when they observed more behavioral problems from their children, and caregivers exhibit more authoritarian than authoritative parenting if they perceived the community to be more dangerous. We also find that families with fewer resources, proxied by wealth, marital status, and parental absence, are more likely to be authoritarian
This paper investigates the effect of material incentive motivation on the working memory performance of kindergartners using a large-scale randomized controlled trial covering 7,123 children from 19 provinces of Thailand. This study measures working memory of young children using the digit span task. The first gfinding is that material incentive motivation raises the working memory performance of young children (p < 0.05) but the impact is not practically significant (less than 4 percents of the mean of the control group). The second one is that young children with different background characteristics respond to material incentive motivation uniformly except with respect to child age. The third finding is that school readiness is the most predictive variable for the working memory performance of young children
Teaching at the right level (TaRL) เป็นโครงการที่ Pratham ซึ่งเป็น NGO ขนาดใหญ่ในประเทศอินเดียพัฒนาขึ้นมา โดยยึดหลักการว่าการสอนนักเรียนควรสอนให้ตรงตามระดับความสามารถของเด็ก ไม่ใช่สอนตามหลักสูตรของแต่ละระดับชั้นที่เด็กอยู่ ซึ่งอาจทำให้เด็กตามบทเรียนไม่ทัน โครงการ TaRL นั้นมุ่งเน้นไปที่ทักษะพื้นฐานการอ่านและการคำนวณ โดยในช่วงแรกโครงการส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่หรืออาสาสมัครของ Pratham เอง และเป็นลักษณะของการสอนเสริมเพิ่มเติมจากการเรียนการสอนปกติในโรงเรียนรัฐบาล ซึ่งมีผลสัมฤทธิ์ดี จากนั้นจึงมีความพยายามที่จะขยายแนวการสอนแบบนี้เข้าไปในระบบโรงเรียน แต่เมื่อส่งต่อให้ภาคส่วนอื่นทำต่อแล้ว โครงการกลับได้ผลไม่ดีนัก อย่างไรก็ดี เมื่อคณะผู้วิจัยพบปัญหาในการดำเนินงานแล้ว จึงมีการปรับการออกแบบ (re-design) กระบวนการขยายผลและทดลองซ้ำอีก จนกว่าจะได้โมเดลที่มีประสิทธิผลและนำไปทำซ้ำ และขยายผลในระบบโรงเรียนรัฐบาลพื้นที่อื่น ๆ ได้